เมนู

ปัญญาอันเป็นไปแล้วโดยความเป็นผู้มีความชำนาญ แห่งอัญญาตาวิน-
ทรีย์นั่นแหละด้วยอาการ 8 ด้วยสามารถแห่งอินทรีย์ 8 ในอรหัตผล
คำนี้พึงทราบว่าท่านกล่าวแล้ว เพราะความสำเร็จผลนั้นด้วยสามารถแห่ง
การสำเร็จเหตุ แม้เพราะความไม่มีในขณะแห่งอรหัตมรรค.
บทว่า อาสวานํ ขเย ญาณํ - ญาณในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย
ความว่า อรหัตมรรคญาณอันกระทำความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายอันตนฆ่าเสียแล้ว.

56-59. อรรถกถาทุกขสมุทยนิโรธมรรคญาณุทเทส


ว่าด้วย ญาณในอริยสัจ


บัดนี้ เพื่อแสดงความตรัสรู้ด้วยญาณอันเดียวกัน แห่งมรรค
ญาณหนึ่ง ๆ บรรดามรรคญาณทั้ง 4 ด้วยการเกี่ยวเนื่องกับด้วยอรหัต-
มรรคญาณกล่าวคืออาสวักขยญาณ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงได้
ยกญาณทั้ง 4 มีคำว่า ปริญฺญฏฺเฐ ปญฺญา - ปัญญาในอรรถว่ารู้รอบ
เป็นต้นขึ้นแสดง.
บรรดาสัจจะทั้ง 4 นั้น ทุกขสัจจะ ท่านกล่าวก่อน เพราะ
ทุกขสัจจะ เป็นของหยาบ, เพราะมีอยู่ทั่วไปแก่สัตว์ทั้งปวง. และเป็น
ของที่รู้ได้โดยง่าย, แล้วแสดงสมุทยสัจจะต่อจากทุกขสัจจะนั้น เพื่อ

แสดงเหตุแห่งทุกขสัจจะนั้น, ต่อจากนั้นก็แสดงนิโรธสัจจะ เพื่อจะให้
รู้ว่า ผลดับ ก็เพราะเหตุดับ แล้วแสดงมรรคสัจจะในที่สุด เพื่อจะ
แสดงอุบายเป็นเครื่องบรรลุถึงซึ่งนิโรธสัจจะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวทุกข์ก่อน ก็เพื่อจะให้เกิดความสังเวช
แก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ติดอยู่ด้วยความยินดีสุขในภพ, ทุกข์นั้นมิใช่มีมา
โดยไม่มีเหตุ มิใช่มีเพราะพระอิศวรนิรมิตเป็นต้น, แต่มีมาจากสมุทัย
นี้ ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวสมุทยสัจจะไว้ในลำดับแห่งทุกข์นั้น เพื่อ
จะให้รู้เนื้อความนี้, แล้วกล่าวนิโรธไว้ เพื่อให้เกิดความยินดีแก่สัตว์
ทั้งหลายผู้มีใจสลดแล้ว ผู้แสวงหาธรรมเป็นเครื่องพ้นทุกข์ เพราะถูก
ทุกข์ อันเป็นไปกับด้วยเหตุ คือสมุทัยครอบงำ, แล้วกล่าวมรรคอัน
ให้ถึงนิโรธเพื่อให้บรรลุนิโรธ. ท่านได้ยกญาณทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่ง
สัจจะทั้ง 4 นั้นขึ้นแสดงตามลำดับ ณ บัดนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ปริญฺญฏฺเฐ - ในอรรถว่ารู้รอบ
ความว่า ในสภาวะที่ควรรู้รอบ 4 อย่างมีการเบียดเบียนเป็นต้นแห่ง
ทุกข์.
คำว่า ปหานฏฺเฐ - ในอรรถว่าละ ความว่า ในสภาวะที่ควร
ละ 4 อย่างมีการประมวลมีเป็นต้นแห่งสมุทัย.
คำว่า สจฺฉิกิริยฏฺเฐ - ในอรรถว่ากระทำให้แจ้ง ความว่า
ในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง 4 อย่าง มีการออกจากทุกข์เป็นต้นแห่งนิโรธ.

คำว่า ภาวนฏฺเฐ - ในอรรถว่าเจริญ ความว่า ในสภาวะที่ควร
เจริญ 4 อย่าง มีการนำออกเป็นต้นแห่งมรรค.

60 - 63. อรรถกถาทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาญาณุทเทส


ว่าด้วย ทุกขทุกขสมุทัยทุกขนิโรธทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ


บัดนี้ เพื่อจะแสดงสัจญาณเป็นแผนก ๆ ไปด้วยสามารถแห่ง
การพิจารณาถึงมรรคที่ได้เจริญแล้วก็ดี ด้วยอำนาจการได้ยินได้ฟังของ
ผู้ไม่ได้อบรมมรรคก็ดี พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกเอาญาณ 4
มีทุกขญาณเป็นต้นขึ้นแสดง.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ทุกฺเข - ในทุกข์ ทุ ศัพท์ ในคำนี้
ย่อมปรากฏในอรรถว่า น่าเกลียด. ชนทั้งหลายย่อมเรียกบุตรน่าเกลียด
ว่า ทุปุตตะ - บุตรชั่ว. ศัพท์นั้นย่อมปรากฏในอรรถว่าว่างเปล่า.
จริงอยู่ท่านเรียกอาการที่ว่างว่า ขํ. ก็สัจจะที่ 1 นี้ ชื่อว่า น่าเกลียด
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะเป็นอเนก, ชื่อว่า ว่างเปล่า เพราะเว้นจาก
ความยั่งยืน, ความงาม, ความสุข, และอัตตาอันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา
ของพาลชน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทุกข์ เพราะความเป็น
ของน่าเกลียด และเพราะเป็นความว่างเปล่า.